เมนู

พระชินสถูปของพระองค์ ณ นันทารามนั้นนั่น
แล สูง 36 โยชน์.
พระสถูปบรรจุ บาตร จีวร บริขาร และเครื่อง
บริโภคของพระศาสดา ตั้งอยู่ ณ โคนโพธิพฤกษ์ใน
ครั้งนั้น สูง 3 โยชน์.
จบวงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ 1


พรรณนาวงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ 1



อุบาสกชาวรัมมนครเหล่านั้น ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธ-
เจ้าเป็นประธานแล้ว ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเสวยเสร็จชักพระหัตถ์
ออกจากบาตรแล้ว ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นอีก ถวายบังคมแล้วอยาก
จะฟังอนุโมทนาทาน จึงเข้าไปนั่งใกล้ ๆ ลำดับนั้น พระศาสดาได้ทรงทำ
อนุโมทนาทานไพเราะอย่างยิ่ง จับใจของอุบาสกเหล่านั้นว่า
ธรรมดาทาน ท่านกล่าวว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของ
สุขเป็นต้น ยังกล่าวว่าเป็นที่ตั้งแห่งบันไดทั้งหลายที่
ไปสู่พระนิพพาน.
ทานเป็นเครื่องป้องกันของมนุษย์ ทานเป็นเผ่า
พันธุ์เป็นเครื่องนำหน้า ทานเป็นคติสำคัญของสัตว์ที่
ถึงความทุกข์.

ทาน ท่านแสดงว่าเป็นนาวา เพราะอรรถว่าเป็น
เครื่องช่วยข้ามทุกข์ และทานท่านสรรเสริญว่าเป็น
นคร เพราะป้องกันภัย.
ทาน ท่านกล่าวว่าเป็นอสรพิษ เพราะอรรถว่า
เข้าใกล้ได้ยาก ทานเป็นดังดอกปทุม เพราะมลทินคือ
โลภะเป็นต้นฉาบไม่ได้.
ที่พึ่งพาอาศัยของบุรุษ เสมอด้วยทานไม่มีในโลก
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญทาน ด้วยการ
ทำตามอัธยาศัย.
นรชนคนไรเล่า ผู้มีปัญญาในโลกนี้ ผู้ยินดีใน
ประโยชน์เกื้อกูล จะไม่พึงให้ทานทั้งหลาย ที่เป็นเหตุ
แห่งโลกสวรรค์.
นรชนคนไรเล่า ได้ยินว่าทานเป็นแดนเกิดสมบัติ
ในเทวดาทั้งหลาย จะไม่พึงให้ทานอันให้ถึงซึ่งความ
สุข ทานเป็นเครื่องยังจิตให้ร่าเริง.
นรชนบำเพ็ญทานแล้ว ก็เป็นผู้อันเทพอัปสร
ห้อมล้อม อภิรมย์ในนันทนวัน แหล่งสำเริงสำราญ.
ของเทวดาตลอดกาลนาน.
ผู้ให้ย่อมได้ปีติอันโอฬาร ย่อมประสบความ
เคารพในโลกนี้ ผู้ให้ย่อมประสบเกียรติเป็นอันมาก
ผู้ให้ย่อมเป็นผู้อันมหาชนไว้วางใจ.

นรชนนั้นให้ทานแล้ว ย่อมถึงความมั่งคั่งแห่ง
โภคะ และมีอายุยืน ย่อมได้ความมีเสียงไพเราะและ
รูปสวยอยู่ในวิมานทั้งหลายที่นกยูงอันน่าชื่นชมนานา
ชนิดร้องระงม เล่นกับเทวดาทั้งหลายในสวรรค์.
ทานเป็นทรัพย์ไม่ทั่วไปแก่ภัยทั้งหลายคือโจรภัย
อริภัย ราชภัย อุทกภัย และอัคคีภัย ทานนั้น ย่อม
ให้สาวกญาณภูมิ ปัจเจกพุทธภูมิ ตลอดถึงพุทธภูมิ.

ครั้น ทรงทำอนุโมทนาทาน ประกาศอานิสงส์แห่งทาน โดยนัยดัง
กล่าวมาอย่างนี้เป็นต้นแล้ว ก็ตรัสศีลกถา ในลำดับต่อจากทานนั้น ธรรมดา
ศีลนั้นเป็นมูลแห่งสมบัติในโลกนี้และโลกหน้า
ศีลเป็นต้นเหตุสำคัญของสุขทั้งหลาย ผู้มีศีล
ย่อมไปไตรทิพย์สวรรค์ด้วยศีล ศีลเป็นเครื่องป้องกัน
เครื่องเร้น เครื่องนำหน้าของผู้เข้าถึงสังสารวัฏ.
ก็ที่พึ่งพาอาศัยของชนทั้งหลายในโลกนี้ หรือใน
โลกหน้าอย่างอื่น ที่เสมอด้วยศีลจะมีแต่ไหน ศีลเป็น
ที่ตั้งสำคัญของคุณทั้งหลาย เหมือนแผ่นดิน เป็นที่ตั้ง
แห่งสิ่งที่อยู่กับที่และสิ่งที่เคลื่อนที่ได้ ฉะนั้น.
เขาว่า ศีลเท่านั้นเป็นกรรมดี ศีลยอดเยี่ยมใน
โลก ผู้ประพฤติชอบในธรรมจริยาของพระอริยะท่าน
เรียกว่า ผู้มีศีล.

เครื่องประดับเสมอด้วยเครื่องประดับคือศีลไม่มี, กลิ่นเสมอด้วยกลิ่นคือ
ศีลไม่มี, เครื่องชำระมลทินคือกิเลสเสมอด้วยศีลไม่มี เครื่องระงับความเร่าร้อน

เสมอด้วยศีลไม่มี. เครื่องให้เกิดเกียรติ เสมอด้วยศีลไม่มี, บันใดขึ้นสู่สวรรค์
เสมอด้วยศีลไม่มี, ประตูในการเข้าไปยังนครคือพระนิพพาน เสมอด้วยศีลไม่มี
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
พระราชาทั้งหลาย ทรงประดับด้วยแก้วมุกดา
และแก้วมณี ยังงามไม่เหมือนนักพรตทั้งหลาย ผู้
ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล ย่อมงามสง่า.
กลิ่นที่หอมไปทั้งตามลมทั้งทวนลมเสมอ ที่เสมอ
ด้วยกลิ่นคือศีล จักมีแต่ไหนเล่า.
กลิ่นดอกไม้ไม่หอมทวนลม หรือกลิ่นจันทน์
กฤษณามะลิ ก็ไม่หอมทวนลม ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ
ย่อมหอมทวนลม สัตบุรุษย่อมหอมไปทุกทิศ.
กลิ่นคือศีล เป็นยอดของคันธชาติเหล่านี้ คือ
จันทน์ กฤษณา อุบล มะลิ.
มหานที คือ คงคา ยมุนา สรภู สรัสวดี
นินนคา อจิรวดี มหี ไม่สามารถชำระมลทินของสัตว์
ทั้งหลายในโลกนี้ แต่น้ำคือศีล ชำระมลทินของสัตว์
ทั้งหลายได้.
อริยศีลนี้ ที่รักษาดีแล้ว เยือกเย็นอย่างยิ่งระงับ
ความเร่าร้อนอันใดได้ ส่วนจันทน์เหลือง สร้อยคอ
แก้วมณีและช่อรัศมีจันทร์ ระงับความเร่าร้อนไม่ได้.
ศีลของผู้มีศีล ย่อมกำจัดภัยมีการติตนเองเป็นต้น
ได้ทุกเมื่อ และให้เกิดเกียรติและความร่าเริงทุกเมื่อ.

สิ่งอื่นซึ่งเป็นบันไดขึ้นสวรรค์ที่เสมอด้วยศีลจะมี
แต่ไหน ก็หรือว่าศีลเป็นประตูเข้าไปยังนครคือพระ-
นิพพาน,
ท่านทั้งหลาย จงรู้อานิสงส์อันยอดเยี่ยมของศีล
ซึ่งเป็นมูลแห่งคุณทั้งหลาย กำจัดกำลังแห่งโทษทั้ง
หลาย ดังกล่าวมาฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งศีลอย่างนี้แล้ว เพื่อ
ทรงแสดงว่า อาศัยศีลนี้ย่อมได้สวรรค์นี้ จึงตรัสสัคคกถาในลำดับต่อจาก
ศีลนั้น ธรรมดาสวรรค์นี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ มีแต่สุขส่วนเดียว
เทวดาทั้งหลายย่อมได้การเล่นในสวรรค์นั้นเป็นนิตย์ ได้สมบัติทั้งหลายเป็น
นิตย์ เหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช ย่อมได้สุขทิพย์ สมบัติทิพย์ตลอดเก้าล้าน
ปี เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้สามโกฏิหกล้านปี ตรัสกถาประกอบด้วยคุณแห่งสวรรค์
ดังกล่าวมานี้เป็นต้น ครั้นทรงประเล้าประโลมด้วยสัคคกถาอย่างนี้แล้ว ก็ทรง
ประกาศโทษต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนก-
ขัมมะว่า สวรรค์แม้นี้ก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ควรทำความยินดีด้วยอำนาจ
ความพอใจในสวรรค์นั้น แล้วตรัสธรรมกถาที่จบลงด้วยอมตธรรม ครั้นทรง
แสดงธรรมแก่มหาชนนั้นอย่างนี้แล้ว ให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณะ บางพวกใน
ศีล 5 บางพวกในโสดาปัตติผล บางพวกในสกทาคามิผล บางพวกในอนา-
คามิผล บางพวกในผลแม้ทั้ง 4 บางพวกในวิชชา 3 บางพวกในอภิญญา 6
บางพวกในสมาบัติ 8 ลุกจากอาสนะแล้ว เสด็จออกจากรัมมนคร เข้าไปยัง
สุทัสสนะมหาวิหารนั่นแล ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ครั้งนั้น อุบาสกชาวรัมมนครเหล่านั้น ให้พระ
โลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์เสวยแล้ว ก็ถึงพระทีปังกร
ศาสดาพระองค์นั้นเป็นสรณะ.
พระตถาคตทรงยังบางคนให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์
บางคนในศีล 5 บางคนในศีล 10.
พระองค์ประทานสามัญผล 4 อันสูงสุดแก่บาง
คน ประทานปฏิสัมภิทา ในธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นเสมอ
แก่บางคน.
พระนราสภประทานสมาบัติ 8 อันประเสริฐแก่
บางคน ทรงประทานวิชชา 3 อภิญญา 6 แก่บางคน.
พระมหามุนี ทรงสั่งสอนหมู่ชน ด้วยนัยนั้น
เพราะพระโอวาทนั้น ศาสนาของพระโลกนาถจึงได้
แผ่ไปอย่างกว้างขวาง.
พระพุทธเจ้ามีพระนามว่าทีปังกร ผู้มีพระหนุ
ใหญ่ มีพระวรกายงาม ทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆสงสาร ทรงเปลื้องมหาชนเสียจากทุคติ.
พระมหามุนี ทรงเห็นชนผู้ควรตรัสรู้ได้ไกลถึง
แสนโยชน์ ก็เสด็จเข้าไปหาในทันใด ทำเขาให้ตรัสรู้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ได้แก่ อุบาสกชาวรัมมนครเหล่า
นั้น. พึงทราบสรณะ สรณคมน์ และผู้ถึงสรณะในคำว่า สรณํ นี้ คุณชาตใด
ระลึก เบียดเบียนกำจัด เหตุนั้นคุณชาตนั้น จึงชื่อว่า สรณะ. สรณะนั้นคืออะไร